Last updated: 11 ก.ค. 2560 | 1395 จำนวนผู้เข้าชม |
ส่วนประกอบทั่วไปของเครื่องปรับอากาศ
1.แผงท่อความท่อเย็น (Cooling Coil)
2.คอมเพรสเซอร์ (Compressor)
3.แผงท่อระบายความร้อน (Condensing Coil)
4.พัดลมส่งลมเย็น (Blower)
5.พัดลมระบายความร้อน (Condensing fan)
6.แผ่นกรองอากาศ (Air Filter)
7.หน้ากากเครื่องที่มีแผ่นเกร็ดกระจายลมเย็น (Louver)
8.อุปกรณ์สำหรับปิด-เปิดเครื่อง (Remote Control)
9.อุปกรณ์ป้อนสารทำความเย็น (Metering Device)
หลักการทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศ
เครื่องปรับอากาศ ทำหน้าที่ นำพาความร้อนที่เกิดขึ้นในห้องต่างๆ ของบ้านพักอาศัย ผ่านทางแผงท่อทำความเย็นออกไปทิ้งภายนอกผ่านทางแผงท่อระบายความร้อน หากการพาความร้อนไปทิ้งเกิดขึ้นได้สะดวก ห้องต่างๆ ก็จะเย็นได้รวดเร็ว และสิ้นเปลืองไฟฟ้าน้อยด้วย
ขนาดการทำความเย็น และชนิดของเครื่องปรับอากาศ
เครื่องแบบแยกส่วน มีขนาดตั้งแต่ 9,000 – 30,000 BTU ตัวเครื่องแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่
ส่วนที่อยู่ภายนอกห้อง เรียกว่า condensing unit ประกอบด้วย compressor แผงท่อระบายความร้อน และพัดลมระบายความร้อน และส่วนที่อยู่ภายในห้อง เรียกว่า fan coil unit มีหน้าที่ทำความเย็น ซึ่ง fan coil unit จะมีทั้งแบบที่ ติดเพดาน ติดผนัง หรือตั้งพื้น
เครื่องแบบติดหน้าต่าง มีขนาดตั้งแต่ 9,000 – 24,000 BTU เหมาะสำหรับ อาคาร ตึกแถว หรือ ทาวน์เฮาส์ ที่ไม่สามารถติดตั้ง condensing unit ได้
การเลือกเครื่องปรับอากาศที่เหมาะสม
ขนาดของห้อง ความสูง 2.5 – 3 ม. และ 1 ตันความเย็น = 12,000 BTU
- ห้องรับแขก ห้องอาหาร ประมาณ 15 ตร.ม./ตันความเย็น
- ห้องนอนที่เพดานห้องเป็นหลังคา ประมาณ 20 ตร.ม./ตันความเย็น
- ห้องนอนที่เพดานห้องเป็นพื้นของอีกชั้นหนึ่ง ประมาณ 23 ตร.ม./ตันความเย็น
การปรับปรุงตัวบ้านก่อนการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ
1.ควรปลูกต้นไม้ใหญ่บังแดดให้กับกระจก
2.ติดตั้งกันสาด
3.ติดตั้งฉนวนหรือฝ้าเพดานหลังคา
4.พัดลม ระบายอากาศที่ติดตั้งในห้องอาหาร ควรมีขนาดความยาวไม่ต่ำกว่า 6 นิ้ว และควรเปิดใช้เฉพาะในกรณีที่จำเป็น ไม่ควรสูบบุหรี่ในห้องปรับอากาศ
5.ห้องนอนไม่ควรติดตั้งพัดลมระบายอากาศ
6.ควรอุดรูรั่วรอบห้องให้สนิท
7.ควรทาสีผนังภายนอกด้วยสีขาว หรือสีอ่อน
การเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศ
1.ควรเลือกซื้อเครื่องที่มีเครื่องหมายการค้าที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป และพิจารณาการสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้าที่ตัวเครื่องของผู้ผลิตด้วย
2.ควรเลือกเครื่องที่ผ่านการรับรองการใช้พลังงานไฟฟ้า หมายเลข 5 หรือ ฉลากเบอร์ 5 ซึ่งแสดงว่าเป็นเครื่องที่ประหยัดพลังงาน
**ถ้าต้องซื้อเครื่องปรับอากาศที่มีขนาดใหญ่กว่า 25,000 BTU/ชม. ให้เลือกเครื่องที่มีการใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 1.25 กิโลวัตต์ต่อ 1 ตันความเย็น หรือมีค่า EER (Energy Efficiency Ratio) ไม่น้อยกว่า 9.6 BTU-ชม./วัตต์**
การติดตั้งเครื่องปรับอากาศ
1.ควรติดตั้ง fan coil unit และ condensing unit ให้ใกล้กันที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
2.หุ้มท่อสารทำความเย็นด้วยฉนวนหนาประมาณ 0.5 นิ้ว
3.ตำแหน่งติดตั้ง condensing unit ควรอยู่ในร่ม ไม่ถูกแสงแดดโดยตรง
4.อย่าให้ลมร้อนที่ระบายออกจากเครื่องชุดหนึ่งเข้าหาเครื่องอีกชุด ให้อากาศร้อนที่ระบายออกจากตัวเครื่องอยู่ในทิศทางเดียวกับกระแสลม
5.ต้องให้ลมเย็นที่จ่ายออกจากตัวเครื่องสามารถกระจายไปได้ทั่วทั้งห้อง
การใช้งานเครื่องปรับอากาศ
1.ปรับตั้งอุณหภูมิของห้องให้เหมาะสม
2.ปิดเครื่องปรับอากาศทุกครั้งเมื่อเลิกใช้งาน
3.อย่านำสิ่งของไปกีดขวางทางลมเข้าและลมออกของ condensing unit ที่ตั้งอยู่ภายนอกห้อง
4.อย่านำรูปภาพ หรือสิ่งของไปกีดขวางทางลมเข้าและลมออกของ fan coil unit ที่ตั้งอยู่ภายในห้อง
5.ควรเปิดหลอดไฟ และอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในห้องปรับอากาศเฉพาะเท่าที่จำเป็น
6.หลีกเลี่ยงการนำเครื่องครัวที่มีความร้อนจัดเข้าไปในห้องปรับอากาศ
7.ก่อนเปิดเครื่องปรับอากาศประมาณ 15 นาที ควรเปิดห้องให้อากาศบริสุทธ์ภายนอกเข้าไปแทนที่อากาศเก่าภายในห้อง
8.ปิดห้องให้สนิท ขณะเปิดใช้เครื่องปรับอากาศ ไม่ควรปลูกต้นไม้ หรือตากผ้าในห้องปรับอากาศ
การบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศ
1.หมั่นทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศอย่างสม่ำเสมอ จะประหยัดไฟฟ้าได้ประมาณ 5-7%
2.ทำความสะอาดแผงท่อทำความเย็นทุก 6 เดือน
3.ทำความสะอาดพัดลมส่งความเย็นทุก 6 เดือน
4.ทำความสะอาดแผงท่อระบายความร้อนทุก 6 เดือน
5.หากเครื่องปรับอากาศไม่เย็น เพราะสารทำความเย็นอาจรั่ว ต้องรีบตรวจหารอยรั่วแล้วแก้ไขโดยเร็ว พร้อมเติมสารทำความเย็นให้เต็มโดยทันที
6.ตรวจสอบสภาพฉนวนหุ้มท่อทำความเย็นเสมอๆ
ขอบคุณที่มา : สาระน่ารู้เกี่ยวกับเครื่องปรับอากาศ (แผนกอนุรักษ์พลังงาน กฟฟ.)